เยี่ยมชมวัดสมโรงในจังหวัดซอกจัง

(VOVWORLD) -จังหวัดซอกจังมีวัดของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรรวม 92 แห่ง และในบรรดาวัดเหล่านั้นต้องพูดถึงวัดสมโรง (Som Rong) เพราะเป็นวัดที่มีความยิ่งใหญ่สวยงามด้วยยสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเมื่อวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา คณะกรรมการประชาชนจังหวัดซอกจังได้มีมติประกาศให้วัดสมโรงเป็นแหล่งที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัด

 
 
เยี่ยมชมวัดสมโรงในจังหวัดซอกจัง - ảnh 1พระอุโบสถ

วัดสมโรงตั้งอยู่ใจกลางเมืองซอกจัง จังหวัดซอกจัง ก่อสร้างขึ้นในปี1785 ตามสถาปัตยกรรมเขมรดั้งเดิมผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ชื่อวัดคือ สมโรง มาจากในอดีตบริเวณนี้มีพืชป่าชื่อ สมโรง ขึ้นอยู่ทั่วบริเวณนี้และตอนนี้ยังเหลือต้นสมโรง 2 ต้นที่กำลังเติบโตดี วัดสมโรงตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาดใหญ่และร่มรื่นด้วยต้นไม้เขียวขจี ในตอนแรกสร้างด้วยไม้และไผ่ หลังคามุงหญ้าแบบเรียบง่าย หลังจากการบูรณะมาหลายครั้ง วัดก็มีพื้นที่กว้างขวางเช่นทุกวันนี้ มีสิ่งปลูกสร้างที่โดดเด่นต่างๆโดยเฉพาะพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ ซึ่งทำให้ผู้คนที่เข้าไปในวัดต่างก็ตื่นตาตื่นใจไปกับความยิ่งใหญ่งดงามวิจิตรเหมือนเข้าไปใน "พระราชวัง" และสร้างความรู้สึกเหมือนกำลังหลงอยู่ใน"แดนสวรรค์" เมื่อเข้าไปถึงด้านหน้าวัดก็จะเห็นประตูวัดที่มีลวดลายสัญลักษณ์วัฒนธรรมของเขมรมากมาย เช่น พญานาค พญาครุฑ พร้อมลวดลายแบบดั้งเดิมที่ลงรักปิดทอง

เยี่ยมชมวัดสมโรงในจังหวัดซอกจัง - ảnh 2

วัดสมโรงมีพื้นที่กว้างประมาณ 5 เฮกตาร์ เมื่อเดินผ่านประตูวัดเข้าข้างในประมาณ 100 ม. ก็จะถึงบริเวณอาคารหลักของวัด โดย2 ข้างทางจะมีทิวต้นไม้โบราณหลายชนิดที่สร้างความร่มเย็นให้แก่วัด ส่วนทางเข้าพระอุโบสถก็เป็นรูปปั้นกิเลนยืนเฝ้าประตูสองด้านเพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายและปกป้องพระพุทธเจ้า เข้าไปด้านในก็เห็นภาพวาดที่สวยงามบนผนังและเพดานของห้องโถงใหญ่ที่เล่าพุทธประวัติของพระโคตมพุทธเจ้า  ส่วนบนแท่นบูชาก็มีพระโคตมพุทธเจ้าหลายองค์ซึ่งมีพระพุทธรูปโบราณที่สร้างจากไม้ 2 องค์ที่มีพร้อมกับช่วงเวลาสร้างวัดคือเมื่อปี 1785 พระมหาเถระเลิมบิ่งห์แทง(Lam Binh Thanh) รองเจ้าอาวาสวัด กล่าวว่า"วัดสมโรงประกอบด้วยอาคารสำคัญๆคือ พระอุโบสถ เจดีย์ที่เป็นสถานที่เก็บอัฐิของเจ้าอาวาสวัดมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ศาลาเป็นที่สำหรับพุทธศาสนิกชนมาบูชาและยังเป็นสถานที่รับแขก สำหรับพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่สร้างขึ้นในปี 2018 เป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม  ภายในบริเวณวัดมีต้นไม้มากมายและสนามหญ้าที่ตกแต่งอย่างสวยงามสำหรับให้นักท่องเที่ยวที่มาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก"

เยี่ยมชมวัดสมโรงในจังหวัดซอกจัง - ảnh 3อาคารศาลาใหญ่

ที่วัดสมโรงยังสามารถเก็บรักษาหินอาถรรพ์ปริศนา 2 ก้อน ที่ลอยน้ำได้ไม่จมน้ำเหมือนหินทั่วไปและถูกตั้งไว้ใต้แท่นบูชาในศาลาใหญ่ หิน2ก้อนนี้มีขนาดต่างกัน แต่มีน้ำหนักเท่ากันคือ 4.2 กก. พื้นผิวของหินไม่เรียบ มีรูเล็กๆกระจายอยู่ทั่วพื้นผิวโดยเป็นหินที่พระมหาเถระ ลี้ดึ๊ก เจ้าอาวาสวัดได้อันเชิญมาจากประเทศกัมพูชาตั้งแต่ปี 2018 จุดเด่นในบริเวณวัดคือเจดีย์ที่ตั้งอยู่ตรงทางเข้าและขนานไปกับพระอุโบสถ โดยจุดที่เป็นความพิเศษของเจดีย์คือสีทาซึ่งไม่ใช้สีเหลืองแบบดั้งเดิมหากใช้เป็นสี ซึ่งสื่อถึงทั้งความทันสมัย ความโอ่อ่า และความเก่าแก่ เจดีย์นี้มีสี่ทิศที่หมายถึงหลักธรรมพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สองข้างทางขึ้นสู่เจดีย์ประดับด้วยรูปพญานาคและลวดลายแบบโบราณที่แกะสลักอย่างปราณีตอ่อนช้อย แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดภายในบริเวณวัดคือพระพุทธรูปปางปรินิพพานที่สง่างามกลางแจ้ง ขนาดใหญ่ ยาว 63 เมตร สูง 22.5 เมตร และประดิษฐานสูงจากพื้นประมาณ 28 เมตร หนัก 490 ตัน

เยี่ยมชมวัดสมโรงในจังหวัดซอกจัง - ảnh 4พระนอนที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม 

นาย Tran Van An นักท่องเที่ยวจากจังหวัด แทงฮว้าและคุณ Huynh Thi Nhu Anh นักท่องเที่ยวจากจังหวัด เตี่ยนยาง ได้แสดงความรู้สึกว่า"พระพุทธรูปตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาดใหญ่และอลังการมาก ผมไม่เคยเห็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่เช่นนี้มาก่อน วัดก็มีความโบราณโอ่อ่าสง่างามมาก ผมจะหาโอกาสพาครอบครัวและญาติ ๆ มาเที่ยววัดนี้อีกแน่นอน ผมก็เคยไปนครวัดในกัมพูชามาก่อน แต่การมาที่นี่ก็ได้เห็นความยิ่งใหญ่และความพิเศษยอดเยี่ยมมาก"

"ดิฉันมาวัดนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งรู้สึกยิ่งใหญ่กว้างขวางมากและประทับใจกับพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์สูงใหญ่ วันนี้เรามากับครอบครัว และหากมีโอกาสเราจะกลับมาอีกครั้ง เพราะวัดสวยงามและเงียบสงบมาก ฉันดิฉันไปวัดเพื่อสวดมนต์ขอพรให้สุขภาพแข็งแรง จิตใจสงบสุข และครอบครัวโชคดี"

ภายในบริเวณวัดสมโรงยังมีห้องสมุดซึ่งมีหนังสือมากกว่า 1,500 เล่มสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาด้านวัฒนธรรมโดยเฉพาะเด็กนักเรียนและชาวพุทธในท้องถิ่น ทั้งนี้ วัดสมโรงก็ได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเมื่อมาเที่ยว มาแสวงบุญและค้นคว้าสัมผัสถึงความล้ำเลิศทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมของชาวเผ่าเขมรในจังหวัดซอกจัง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด